การละเล่นผีตาโขน เป็นคำที่เรียกชื่อการละเล่นชนิดหนึ่ง ที่ผู้เล่นต้องสวมหน้ากากที่วาดหรือแต้มให้หน้ากลัว โดยชุดแต่งผีตาโขนใช้ผ้าเก่า ผ้ามุ้ง หรือใช้เศษผ้านำมาห่อหุ้มร่างกายให้มิดชิด ซึ่งจะร่วมเข้าขบวนแห่และแสดงท่าทางต่างๆ ระหว่างที่มีประเพณีบุญหลวง เป็นการละเล่นที่มีเฉพาะในท้องที่อำเภอด่านซ้ายเท่านั้น

การละเล่นผีตาโขน อำเภอด่านซ้าย

การละเล่นผีตาโขน เป็นประเพณีที่มีมาตั้งแต่โบราณ จะมีมาตั้งแต่เมื่อใดไม่ปรากฏ สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่มี “บุญหลวง” เป็นบุญพระเวสสันดรและบุญบั้งไฟรวมกันนับเป็นเวลานานหลายร้อยปี หรืออาจจะมีตั้งแต่เมื่อครั้งพระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทย

คำว่า “ผีตาโขน” ความหมายเดิมไม่แน่ชัดเท่าที่สืบทราบแต่เพียงว่าเป็นผีที่มีลักษณะรูปร่างหน้าตาน่าเกลียดน่ากลัวจากการที่สอบถามร่างทรง “เจ้ากวน” ผีตาโขนมาจากคำว่า “ผีตามคน” คนเข้ามาขออาหาร ขอส่วนบุญในเมืองมนุษย์ทำการเล่นหยอกล้อผู้คนขอข้าวปลาอาหารแล้วก็จะพากันกลับยังถิ่นที่อาศัยของตน

ในการละเล่นผีตาโขนของชาวอำเภอด่านซ้ายมีความเชื่อว่า ประการแรก เล่นเพื่อถวายดวงวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ที่มีอำนาจในการปกครองสูงสุดในเมืองด่านซ้าย ประการที่สองเล่นเพื่อร่วมขบวนแห่พระเวสสันดรเข้าเมือง อันเป็นความเชื่อทางพุทธศาสนา ประการที่สาม เล่นเพื่อร่วมขบวนในการแห่บุญเดือนหก (บุญบั้งไฟ) และการแห่ขอฝน ประการที่สี่ เล่นเพื่อความสนุกสนาน ประการสุดท้าย เล่นเพื่อให้สิ่งที่ไม่ดีที่เคยกระทำด้วยกาย วาจา ใจ รวมถึงโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ให้ติดไปกับผีตาโขน โดยการนำไปล่องลำน้ำหมัน เป็นการเสร็จสิ้นพิธีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน

งานบุญหลวงจัดเป็นประเพณีทุกปี

ประเพณีแห่ผีตาโขนจัดเป็นส่วนหนึ่งในงานบุญประเพณีใหญ่หรือที่เรียกว่า “งานบุญหลวง” หรือ “บุญผะเหวด” ซึ่งตรงกับเดือน 7 มีขึ้นที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และจัดเป็นการละเล่นที่ถือเป็นประเพณีทุกปี เกี่ยวโยงกับงานบุญพระเวสหรือเทศน์ มหาชาติ ประจำปีกับพระธาตุศรีสองรัก ปูชนียสถานสำคัญของชาวด่านซ้าย เป็นอีกหนึ่งประเพณีที่มีชื่อเสียงและขึ้นชื่อของจังหวัดเลย โดยมีขบวนแห่ผีตาโขน การละเล่นผีตาโขน โดยแต่งกายคล้ายผีและปีศาจใส่หน้ากากขนาดใหญ่ที่เป็นเอกลักษณ์มีลวดลายที่งดงามแตกต่างกันไป แสดงการละเล่นเต้นรำกันอย่างสนุกสนานในขบวนแห่งที่แห่ยาวไปตามท้องถนน

กล่าวกันว่า การแห่ผีตาโขน การละเล่นผีตาโขน เกิดขึ้นเมื่อครั้งที่พระเวสสันดรและนางมัทรีจะเดินทางออกจากป่ากลับสู่เมือง บรรดา ผีป่าหลายตน และสัตว์นานาชนิดอาลัยรักจึงพาแห่แหนแฝงตัวแฝงตน มากับชาวบ้านเพื่อมาส่งทั้งสอง พระองค์ กลับ เมือง “ผีตามคน” หรือ “ผีตาขน” จนกลายมาเป็น “ผีตาโขน” อย่างในปัจจุบัน

ประเพณีงานบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขนปี 2566 ที่ จ.เลย

เปิดอย่างเป็นทางการ งานประเพณีงานบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน ปี 66 ที่สนามหน้าที่ว่าการ อ.ด่านซ้าย โดยมีผีตาโขนเล็กใหญ่กว่า 3 พันตัว นักท่องเที่ยวเนืองแน่น จนแทบไม่มีที่เดิน และรถติดยาวกว่า 3 กิโลเมตร

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 24 มิ.ย.66 บรรยากาศงานประเพณีงานบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน ปี 66 ณ สนามหน้าที่ว่าการอำเภอด่านซ้าย จ.เลย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานพิธีเปิดงานประเพณีงานบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน ปี 66 มีนายทวี เสริมภักดี ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย หัวหน้าส่วนราชการ ประชาชน และนักท่องเที่ยวร่วม 100,000 คน ร่วมเปิดงานอย่างยิ่งใหญ่ หลังงดจัดงานมานานเนื่องจากสถานการณ์โควิดที่ผ่านมา

โดยมีขบวนแห่เทิดพระเกียรติฯ ขบวนเจ้าพ่อกวน เจ้าแม่นางเทียม ขบวนแห่ขององค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น พร้อมผีตาโขนเล็ก ใหญ่กว่า 3,000 ตัว ร่วมขบวนแห่ จนถนนแก้วอาสาเนืองแน่นไปด้วยนักท่องเที่ยว ที่จับจองหาที่นั่งเพื่อดูขบวนแห่ จนแทบจะเดินไม่ได้ ส่วนสภาพการจราจรติดยาวกว่า 3 กม.

ส่วนในเวลาประมาณ 14.00-15.00 น. จะมีพิธีแห่พระเวสสันดรและพระนางมัทรี เข้าเมือง โดยสมมติให้สถานที่นอกวัดในบริเวณหมู่บ้านเดิ่น ตำบลด่านซ้าย อำเภอด่านซ้าย เป็นที่พระเวสสันดรและพระนางมัทรีประทับอยู่ มีพิธีบายศรีสู่ขวัญ พระเวสสันดรกับพระนางมัทรี

หลังจากอัญเชิญพระเวสสันดรและพระนางมัทรี เสร็จแล้ว มีขบวนแห่ คือ ทำการแห่เข้าวัด ซึ่งสมมติว่าเป็นเมือง โดยอัญเชิญพระพุทธรูปนำหน้า ถัดไปมีพระสงฆ์ 4 รูป นั่งบนแคร่ตามหลัง ต่อจากนั้นจึงเป็นขบวนแห่บั้งไฟ โดยเอาบั้งไฟมามัดรวมกันบนแคร่และมี “เจ้ากวน” นั่งบนบั้งไฟ มีขบวนการละเล่นผีตาโขน

การละเล่นผีตาโขน

ชนิดของผีตาโขน

ผีตาโขน ในขบวนแห่การละเล่นผีตาโขนจะแยกเป็น 2 ชนิดคือ ผีตาโขนใหญ่ และผีตาโขนเล็ก

  • ผีตาโขนใหญ่ ทำเป็นหุ่นรูปผีทำจากไม้ไผ่สานมีขนาดใหญ่กว่าคนธรรมดาประมาณ 2 เท่าประดับตกแต่งรูปร่าง
  • ผีตาโขนเล็ก ผีตาโขนเล็กเป็นการละเล่นของเด็ก ไม่ว่าเด็กเล็ก เด็กวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ ทั้งผู้หญิงชาย มีสิทธิ์ทำ และเข้าร่วมสนุก ได้ทุกคน แต่ผู้หญิงไม่ค่อยเข้าร่วมเพราะเป็นการเล่นค่อนข้างผาดโผนและซุกซน

ผู้เข้าร่วมการละเล่นผีตาโขนในพิธีนี้จะแต่งกายคล้ายผีและปีศาจใส่หน้ากากขนาดใหญ่ ทำจากกาบมะพร้าวแกะสลักและสวมศีรษะด้วย

กำหนดการละเล่นผีตาโขน

เนื่องจากงานประเพณีผีตาโขนเป็นงานบุญใหญ่ซึ่งเรียกกันว่างานบุญหลวง จัดขึ้นที่วัดโพนชัย อ.ด่านซ้าย โดยมี การละเล่นผีตาโขนมีการเทศน์มหาชาติมีการทำบุญพระธาตุศรีสองรักและงานบุญต่างๆเข้ามาผสมอยู่รวมๆ กัน จึงมีการจัดงานกัน 3 วัน

วันที่ 1 เป็นเทศกาลผีตาโขน ซึ่งเรียกวันนี้ว่า วันรวม หรือ วันโฮม จะมี พิธีเบิกพระอุปคุต

  • พิธีการบวชพราหมณ์ เพื่อเชิญพระอุปคุต
  • พิธีแห่จากวัดโพนชัย ไปริมฝั่งแผ่น้ำหมันเพื่อเชิญพระอุปคุต
  • พิธีงมพระอุปคุตจากแม่น้ำหมันอัญเชิญขึ้นประดิษฐานหออุปคุต วัดโพนชัย
  • พิธีเบิกพระอุปคุต พร้อมยิงปืนทั้ง 4 ทิศ
  • พิธีบายศรีสู่ขวัญเจ้าพ่อกวนและเจ้าแม่นางเทียม

วันที่ 2 เป็นวันแห่พระเวสสันดรเข้าเมือง หรือขบวนแห่ผีตาโขนการละเล่นผีตาโขน

  • พิธีสู่ขวัญพระเวส อัญเชิญพระเวสเข้าเมือง
  • ขบวนแห่พระเวสเข้าเมือง (ขบวนแห่ผีตาโขน)
  • เจ้าพ่อกวนและคณะ นำขบวนแห่ไปวัดโพนชัยแห่รอบโบสถ์ 3 รอบ
  • เจ้าพ่อกวนและคณะจุดบั้งไฟขอฝน
  • คณะผู้เล่นบุญนำหน้ากากผีตาโขนน้อยและผีตาโขนใหญ่ทิ้งลงแม่น้ำหมัน

วันที่ 3 เป็นวันฟังเทศน์มหาชาติ 13 กัณฑ์ พิธีสวดมาลัยหมื่นมาลัยแสน ในการฟังเทศมหาชาติ

  • พิธีสวดชำฮะเพื่อขอขมาลาโทษสะเดาะเคราะห์รับโชค
  • นำอาหารหวานใส่กระทง เพื่อให้ทานสะเดาะเคราะห์ และสืบชะตาบ้านเมือง
  • พ่อแสนท้าพิธี “จำเนื้อจำคิง” เพื่อการสะเดาะเคราะห์
  • นำเครื่องสะเดาะเคราะห์ทิ้งลงแม่น้ำหมัน
  • พิธีคารวะองค์องค์พระใหญ่ โดยเจ้าพ่อกวนและคณะ เป็นอันเสร็จพิธี

ที่มาและความเชื่อของผีตาโขน

ต้นกำเนิดของผีตาโขนนั้น เดิมมีชื่อเรียกว่าผีตามคน เป็นเทศกาลที่ได้รับอิทธิพลมาจาก มหาเวสสันดรชาดก ชาดกในพระพุทธศาสนา มีตำนานว่า เมื่อครั้งพระเวสสันดร และนางมัทรี จะเดินทางออกจากป่ากลับเข้าสู่เมือง มีผีป่าและสัตว์ต่างๆ ที่รักพระเวสสันดรและนางมัทรี พากันแฝงตนมากับชาวบ้านเพื่อมาส่งทั้งสองพระองค์กลับสู่เมืองด่วยความอาลัย นั่นคือที่มาของ “ผีตามคน” หรือ “ผีตาขน” จนกลายมาเป็น “ผีตาโขน” ในปัจจุบันนั่นเอง

โดยในขบวนแห่ผีตาโขนนั้น ผู้ที่แต่งกายเป็นผีตาโขนนั้น จะต้องสวมหน้ากากที่ทำจากหวดนึ่งข้าวเหนียว แต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีสันสดใส และออกเดินร่วมขบวนไปกับขบวนแห่งานบุญหลวง

มีความเชื่ออีกว่า ประเพณีผีตาโขน เป็นการละเล่นเพื่อบวงสรวงบูชาดวงวิญญาณบรรพชนที่เสียชีวิตไปแล้ว ซึ่งจะกลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองบ้านเมือง ดลบันดาลให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ หรือความหายนะก็ได้ ดังนั้นเพื่อให้ดวงวิญญาณบรรพชนพอใจ ชาวบ้านจึงจัดให้มีการละเล่นผีตาโขนขึ้น

 

ประเพณียังคงมีความเชื่อกันว่า สำหรับคนที่เล่นหรือมีการแต่งตัวเป็นผีตาโขนใหญ่ ต้องถอดเครื่องแต่งกายผีตาโขนใหญ่ออกให้หมดและนำไปทิ้งในแม่น้ำหมัน ห้ามนำเข้าบ้าน เป็นการทิ้งความทุกข์ยากและสิ่งเลวร้ายไปอีกด้วย ซึ่งงานประเพณีงานบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขนปี 2566 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-25 มิถุนายน และชมขบวนแห่วันที่ 24 มิถุนายน ณ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย

 

ข่าวทั่วไปอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ที่มาของบทความ

 

ติดตามอ่านข่าวทั่วไปได้ที่  dafastlane.net

สนับสนุนโดย  ufabet369